วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559



เนื่องจากได้ยินมาว่า มีผู้แนะนำให้ ใช้สารเคมีตัวนี้ ในการฆ่าเชื้อราที่ไข่กุ้ง เวลากุ้งไข่ ออกมาแล้วเริ่มมีเชื้อราขึ้น เลยอดที่จะตกใจไม่ได้ เพราะว่า ยาและเคมีภัณฑ์บางชนิด อย่าง มาลาไคท์ กรีน ที่หาซื้อได้ง่ายในตลาดปลาบ
้านเรา นั้นพบมานานแล้ว ว่าเป็นสารเคมีอันตราย ทั้งต่อคน และ สัตว์น้ำ เช่น ก่อให้เกิดความบกพร่องของทารกในครรภ์ (Teratogen)และเป็นสารก่อมะเร็ง (Carcinogen) เป็นสารเคมีที่มีการตกค้างในสิ่งมีชีวิต (Residue) และสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดการกลายพันธุ์ (Mutagenic) และ เป็นเคมีภัณฑ์ที่มีความเป็นพิษสูง ปัจจุบัน ในประเทศไทย ได้มีมาตรการห้ามใช้ สารตัวนี้ ในการเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อการบริโภคทุกชนิดแล้ว แต่สำหรับในวงการสัตว์น้ำ ยังมีการใช้งานสารเคมี
ชนิดนี้กันอยู่อย่างแพร่หลาย และ ก็ได้มี บางคนแนะนำ ให้ใช้สารตัวนี้ ในการฆ่าเชื้อรา ในแม่กุ้งไข่ด้วยซึ่งเป็นอันตรายอย่างมากครับ

ยา มาลาไคท์ กรีน มีสูตร เคมีว่า C23H25N2 มีลักษณะเป็นผงสีเขียว ละลายน้ำได้ดี เมื่อละลายน้ำแล้วได้ สารสีออกน้ำเงินตอนนี้ มีอยู่ 2 ชนิดคือ รูปของมาลาไคท์ กรีน ออกซาเลต (Malachite green oxalate) และ รูปของมาลาไคท์ กรีน ไฮโดรคลอไรด์ (Malachite green hydrochloride)ตัวยาชนิดนี้ มีชื่อ ทางตลาด มากมายเช่น วิคทอเรีย กรีน (Victoria Green),แอนิลีน กรีน(Aniline Green),เบนซัลดีไฮด์ กรีน (Benzaldehyde Green) ,ไชน่ากรีน (China Green) ,ไดมอนด์ กรีน (Diamond Green) ,บริลเลี่ยน กรีน (Brilliant Green)เป็นต้น มียี่ห้อแตกต่างกันไปมากมาย ในท้องตลาด 

คุณสมบัติด้านอื่นๆ 

1.มาลาไคท์ กรีน สามารถ นำมาใช้เป็นสีสังเคราะห์ที่ใช้สำหรับย้อมวัสดุต่างๆ เช่น ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ฝ้ายและกระดาษ

2.มาลาไคท์ กรีน จะถูกดูดซึม และมีการเปลี่ยนรูปไปเป็น ลูโคมาลาไคท์ กรีน (Leucomalachite Green : LMG) ในเนื้อเยื่อของสัตว์น้ำ และจะตกค้างเป็นระยะเวลานาน

ข้อเสีย

- เหนี่ยวนำให้เกิดเนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์ตับ ในสัตว์ทดลอง ในขณะที่ลูโคมาลาไคท์ กรีน สามารถก่อให้เกิดมะเร็งที่ต่อมไทรอยด์ และตับในสัตว์ทดลอง

- เหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในการก่อให้เกิดเนื้องอกในสัตว์ทดลอง

- ทำให้เกิดความผิดปกติทางพันธุกรรม โดยการเพิ่มความยาวของสาย DNA

- ทำให้การพัฒนาของตัวอ่อน หลังฟักออกจากไข่มีความผิดปกติไปจากเดิมถึง 3-5 เท่า

- เป็นพิษโดยตรงต่อระบบหายใจของสัตว์น้ำและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีของเลือด 

- ทำให้ระดับของแคลเซียมและโปรตีนในเลือดลดลงอย่างรวดเร็ 

- เป็นพิษอย่างรุนแรงต่อสาหร่ายพืชน้ำ และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในน้ำจืดและทะเล ( กุ้ง และ ครัสเตเชียลต่างๆ เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ) 

แล้วจะใช้สารเคมีใดได้แทน มาลาไคท์ กรีน ?

- ฟอร์มาลิน ออกฤทธิ์กำจัดปรสิตภายนอก สัดส่วนที่ใช้ 25-40 ส่วนในล้านส่วน นาน 24 ชั่วโมง 
- ไตรฟูลาริน ออกฤทธิ์กำจัดเชื้อรา สัดส่วนที่ใช้ 0.1 ส่วนในล้านส่วน นาน 24 ชั่วโมง 
- โอโซน ออกฤทธิ์กำจัดเชื้อรา สัดส่วนที่ใช้ 0.1 มิลลิกรัม/น้ำ 1 ลิตร นาน 1 นาที 
- โพวิโดน ไอโอดีน ออกฤทธิ์กำจัดเชื้อราบนไข่ปลา สัดส่วนที่ใช้100 มิลลิกรัม/น้ำ 1 ลิตร นาน 15 นาที 
- ด่างทับทิม ออกฤทธิ์กำจัดปรสิตภายนอก สัดส่วนที่ใช้ 2-4 มิลลิกรัม/น้ำ 1 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง 
- ไฮโดรเจน เปอร์ออกไซด์ ออกฤทธิ์กำจัดเชื้อราบนไข่ปลา สัดส่วนที่ใช้ 1,000 ส่วน ในล้านส่วน นาน 15 นาที 
- โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (NaHOCl)เป็นสารฆ่าเชื่อโรค สามารถกำจัดเชื้อรา ที่ก่อให้เกิดโรคในสัตว์น้ำได้ 
ใช้เพียง 30 PPM เพียง 1 ชั่วโมง ทุกๆ 3 วัน 

แต่ทุกๆสารเคมี นั้น ต้องมีความระมัดระวัง ในการใช้เป็นอย่างมาก เพราะถ้าใช้ไม่ถูกสัดส่วน และใช้เป็นเวลานานเกินไป ( ใช้แค่ช่วงแรก ก่อนไข่มีการพัฒนาตัวก็พอ ) ก็อาจจะเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ ( กุ้ง ) ที่ท่านเลี้ยงได้โดยตรงครับ หรือ ไม่เราก็ดูแล คุณภาพน้ำของตู้เลี้ยงให้สะอาด ไม่มีความหมักหมม ก็สามารถลดโอกาศที่จะเกิดปัญหา ไข่กุ้ง ( หรือปลา ) มีเชื้อราเกิดขึ้นได้ ในระดับหนึ่งแล้วครับ 

เรียบเรียง : กษิดิศ วรรณุรักษ์

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.